Sunday, November 25, 2007

คำแนะนำจาก รอง ผอ.กปจ.กพร.ทร.

หนึ่งเดือนกว่า ๆ ที่ รองฯ ได้มาร่วมทำงานกับพวกเราทุกคน รองฯ เห็นถึงความตั้งใจจริงของทุกคน งานของกองเราส่วนใหญ่จะเป็นงานเร่งด่วนแทบจะทั้งนั้น อีกอย่างไม่มีเวลาในการรวบรวมข้อมูลเพื่อเสนอขอนุมัติ ทร. จึงทำให้การเสนอ ทร. บางครั้งไม่สมบูรณ์มากนัก อย่างไรก็ตาม รองฯ อยากจะบอกว่า หากทุกคนมีการจัดลำดับความสำคัญของงานและมองไปข้างหน้าสักเดือน จะเห็นได้ว่ามีงานอะไรรอเราอยู่ จึงอยากให้มีการเตรียมตัวตั้งแต่เนิ่น ๆ มิใช่รอเวลาให้ใกล้เขามาแล้วจึงมาทำมันจะไม่สมบูรณ์
การเป็นฝ่ายอำนวยการนั้น หน้าที่คือการประสานงานและขึ้นเรื่องขออนุมัติสั่งการฯ ดังนั้น ขอให้ทุกแผนกได้รับทราบว่าเรื่องทุกเรือควรมีการประสานหน่วยที่เกี่ยวข้องทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการเชิญประชุมหรือออกข่าวราชนาวีประสาน ด้วยการใช้คำพูดที่ว่า กพร.ทร. กำลังขออนุมัติ ทร. .... และลงท้ายด้วยว่าเพื่อโปรดทราบและเตรียมการในส่วนที่เกี่ยวข้อง อีกต้องมีบุคคลที่ต้องติดต่อ เช่น หน.แผนก จะต้องแจ้งให้เขาทราบด้วย เพื่อง่ายต่อการประสานงาน ทั้งนี้ มิควรกำหนดลงไปถึงระดับ นขต.ของหน่วยเขา ขอให้เป็นการพิจารณาจากหน่วยเข้าเองน่าจะสวยกว่า เช่น การจัดกำลังพล เป็นต้น
เมื่อได้ประสานหน่วยที่เกี่ยวข้องแล้ว ก็กลับมารวบรวมข้อมูลหรือเรื่องเดิมมีหรือไม่ นำมาประกอบในการเขียนเรื่องในส่วนข้อเท็จจริง ของเรื่องที่จะเสนอ ทร. การเขียนหนังสือของฝ่ายอำนวยการนั้น ตามหลักวิชาการแล้ว จะมี ๔ ข้อ ได้แก่ เรื่องเดิมหรือปัญหา ข้อเท็จจริง ข้อพิจารณา และข้อเสนอแนะ/สั่งการ แต่อย่างไรก็ตาม หากเป็นเรื่องที่รายละเอียดไม่มาก ก็สามารถร่วมเอาข้อเท็จจริง และข้อพิจารณาร่วมกันได้เลย เช่น กพร.ทร.ขอเสนอเพื่อทราบและมีข้อพิจารณา ดังนี้
อย่างไรก็ตามข้อเท็จจริง ก็ขอให้เป็นข้อเท็จจริง ๆ ทั้งนี้ มิควรเขียนความคิดเห็นเข้าไปในส่วนนี้ เช่น กพร.ทร. เห็นว่า.... เป็นต้น หากจะใส่ความคิดเห็นก็ควรนำไปใส่ในช่วงของข้อพิจารณาจึงจะถูกหลักการ และในข้อพิจารณาตามหลักการที่ถูกสอนมาจะต้องนำความเหมาะสม (สามารถบรรลุภารกิจ) ความเป็นไปได้ (ด้วยทรัพยากรที่มีอยู่) และความยอมรับได้ (ภายใต้ความเสี่ยงและงบประมาณที่ยอมรับได้) มาพิจารณาด้วย หากเป็นเรื่องที่มีรายละเอียดไม่มาก ก็ให้ยึดหลักว่า ทร. ได้ประโยชน์อย่างไร และต้องของบประมาณเพิ่มเติมจาก ทร. หรือไม่เป็นเกณฑ์
สุดท้าย การเสนอแนะ/สั่งการ ก็ควรสั้น ๆ มิควรนำเอาข้อความเดิมที่เขียนไว้ในข้อพิจารณากลับมาใส่ไว้อีก แต่ควรจะเขียนอ้างถึงสิ่งที่เราได้พิจารณาไว้ในส่วนของข้อพิจารณาจะสวยกว่า เช่น เห็นควรให้ ฉก.นย.ภต. ดำเนินการตามข้อ ๒.๒ เป็นต้น
ก็หวังว่าข้อความที่รองได้แนะนำไว้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อพวกเราในการขึ้นเรื่อง ไม่มากก็น้อย วันนี้คงมีเพียงแค่นี้ครับ สวัสดีครับ

No comments: